วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้จากทีมงานรับออกแบบติดตั้งระบบน้ำทุกประเภท(วิธีรับมือกับหน้าร้อน) V.1


       ฤดูร้อนที่คืบคลานเข้ามาแล้วนี้ อาจไปบั่นทอนสุขภาพของหลายๆ คน จึงต้องมีการป้องกันตัวเองกันหน่อย ถ้าสุขภาพไม่ดีหรือมีปัญหาสุขภาพ ก็อาจไปบั่นทอนความสุขในการใช้ชีวิต หรือแม้แต่การวางแผนเที่ยวในช่วงไฮซีซั่น ก็อาจจะสะดุดลงได้ ซึ่งต้องป้องกันให้ถูกวิธีด้วยนะคะ

1. ไม่ควรกินน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัด เพราะการให้ความเย็นมากระทบร่างกายมากเกินไป หรืออยู่ในที่เย็นๆ ไม่ว่าจะกินน้ำแข็ง ดื่มน้ำเย็น น้ำอัดลม หรือผลไม้แช่แข็ง ก็อาจมีผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งการดื่มน้ำเย็นในปริมาณมากๆ จะไปเจือจางน้ำย่อย ทำให้เลือดที่ไปหล่อเลี้ยงกระเพาะอาหารมีสมรรถภาพการย่อยอาหารลดลง อาจก่อให้เกิดอาการลำไส้อักเสบได้ง่าย คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารอาการอาจกำเริบได้ จึงต้องระวังเป็นพิเศษค่ะ
2. เครื่องดื่มที่เหมาะสมในหน้าร้อน ควรดื่มน้ำเปล่าที่ต้มสุกแล้ว หรือจะเป็นเครื่องดื่มที่ปรุงแต่งด้วยน้ำตาล หรือสมุนไพรต่างๆ เช่น การดื่มชาร้อน น้ำเก๊กฮวย น้ำดอกสายน้ำผึ้ง น้ำบ๊วย น้ำถั่ว ที่จะไปช่วยลดความร้อนของหัวใจ ทำให้ตาสว่าง เพิ่มน้ำในร่างกาย บำรุงตับ ไต เจริญอาหาร ช่วยให้ระบบย่อยและดูดซึมอาหารได้ดี การเติมเกลือหรือน้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะช่วยเสริมพลังงานและป้องกันการสูญเสียโซเดียมในร่างกายด้วย
3. ไม่ควรนอนให้ลมหรือความเย็นพัดโกรกใส่ เพราะความร้อนจากแดดจะทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง อุณหภูมิในร่างกายจะลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงและเหงื่อไม่สามารถระบายออกได้ จะเกิดความร้อนสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิงเวียน ไม่สดชื่น หรืออาจเป็นหวัดได้ค่ะ การใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเปิดกระทบร่างกายโดยตรง โดยเฉพาะบริเวณท้อง จะทำให้ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสียได้ ส่วนคนที่มีปัญหาพลังงานพร่องเมื่อโดนลมนานๆ จะเกิดความเย็นโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ทำให้เลือดไหลเวียนน้อยลง
4. การนอน การพักผ่อนโดยธรรมชาติของฤดูซัมเมอร์ กลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืนอยู่แล้ว ทำให้ได้นอนน้อยลง ประกอบกับกลางวันก็เสียเหงื่อและพลังงานไปมาก จึงทำให้ไม่ค่อยสดชื่น ถ้าได้นอนหลับพักผ่อนในช่วงกลางวันจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย แต่สำหรับพนักงานออฟฟิศ การนั่งตัวตรง หลับตาในช่วงกลางวันก็ช่วยได้แล้ว แต่ถ้าใครที่สะดวกจะนอน ควรนอนในท่านอนราบหรือนอนตะแคง ไม่นอนคว่ำ หรือฟุบกับโต๊ะทำงานเพราะจะกดหน้าท้อง กดทรวงอก กระทบการหายใจได้ค่ะ
5. อาหาร หน้าร้อนระบบย่อยอาหารจะทำงานน้อยลง ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกหิว จึงอาจต้องกินให้เหมาะสม เช่น กินข้าวต้มในมื้อเช้า เป็นการถนอมการทำงานของกระเพาะอาหาร อาจผสมถั่วเขียว เม็ดบัว เพื่อให้ย่อยง่ายและช่วยขับความร้อน กลางวันกินผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม แตงไทย สัปปะรดก็แก้กระหายได้ แต่ไม่ควรแช่เย็นจัดค่ะ หลีกเลี่ยงอาหารทอดๆ มันๆ แห้งๆ หรืออาหารที่มีฤทธิ์ร้อน หรือกินแต่น้อยแล้วดื่มน้ำเกลือเพื่อดับร้อน
6. ดูแลสุขภาพเด็กเล็ก ควรให้ใส่ผ้าฝ้ายที่ระบายความร้อนได้ดี ไม่คับ ไม่อึดอัด และระวังเรื่องความอับชื้น อาหารที่กินต้องปรุงสุกและสะอาดเสมอ น้ำแข็ง น้ำอัดลม ไอศกรีมไม่ควรกินบ่อยเพราะไปกระทบเรื่องระบบการย่อยอาหาร ห้องนอนควรจะระบายความร้อนได้ดี และเด็กไม่ควรโดนพัดลมโดยตรง ไม่ควรให้เด็กนอนในที่เปียกชื้น ในกรณีที่เหงื่อออกมากให้พลิกตัวบ่อยๆ การเดินทางโดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมควรให้ลูกสวมหมวก ใส่เสื้อแขนยาว ขายาว เพื่อป้องกันแสงแดดด้วยนะคะ
7. หญิงตั้งครรภ์ ควรสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดเพื่อป้องกันความร้อน หลีกเลี่ยงการกระทบความร้อนโดยตรง อยู่ในห้องที่ระบายอากาศได้ดี เสื้อผ้าก็เช่นกัน ผิวกายต้องสะอาดสะอ้าน กินอาหารที่สดและมีประโยชน์ เช่น เนื้อ นม ไข่ ผลไม้จำพวกแตง มะเขือเทศที่มีฤทธิ์ขับร้อน และเครื่องดื่มจำพวกถั่วเขียวต้ม ชาเก๊กฮวย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแอลกอฮอล์และกาเฟอีน เพราะสามารถส่งผ่านไปถึงทารกได้ง่าย
8. บุคคล 3 ประเภทที่ต้องระวังให้มาก คนสูงอายุ คนที่มีสภาพม้ามบกพร่อง และคนที่มีสภาพไตหยางพร่อง เพราะความร้อนจากแดด หรือการกินอาหารที่เย็นเกินไปจะไปทำให้ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมทำงานผิดปกติ และเกิดความชื้นสะสมในร่างกาย อาจทำให้ท้องเสีย ติดเชื้อง่าย ปวดหัวตัวร้อน แต่ไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ ก็จะมีอาการปวดตามข้อ และกล้ามเนื้อ
ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับด้วยความหวังดี จาก(ทีมงานรับออกแบบติดตั้งระบบน้ำทุกประเภท)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น