วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้จากทีมงานรับออกแบบติดตั้งระบบน้ำทุกประเภท(วิธีรับมือกับหน้าร้อน) V.1


       ฤดูร้อนที่คืบคลานเข้ามาแล้วนี้ อาจไปบั่นทอนสุขภาพของหลายๆ คน จึงต้องมีการป้องกันตัวเองกันหน่อย ถ้าสุขภาพไม่ดีหรือมีปัญหาสุขภาพ ก็อาจไปบั่นทอนความสุขในการใช้ชีวิต หรือแม้แต่การวางแผนเที่ยวในช่วงไฮซีซั่น ก็อาจจะสะดุดลงได้ ซึ่งต้องป้องกันให้ถูกวิธีด้วยนะคะ

1. ไม่ควรกินน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัด เพราะการให้ความเย็นมากระทบร่างกายมากเกินไป หรืออยู่ในที่เย็นๆ ไม่ว่าจะกินน้ำแข็ง ดื่มน้ำเย็น น้ำอัดลม หรือผลไม้แช่แข็ง ก็อาจมีผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งการดื่มน้ำเย็นในปริมาณมากๆ จะไปเจือจางน้ำย่อย ทำให้เลือดที่ไปหล่อเลี้ยงกระเพาะอาหารมีสมรรถภาพการย่อยอาหารลดลง อาจก่อให้เกิดอาการลำไส้อักเสบได้ง่าย คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารอาการอาจกำเริบได้ จึงต้องระวังเป็นพิเศษค่ะ
2. เครื่องดื่มที่เหมาะสมในหน้าร้อน ควรดื่มน้ำเปล่าที่ต้มสุกแล้ว หรือจะเป็นเครื่องดื่มที่ปรุงแต่งด้วยน้ำตาล หรือสมุนไพรต่างๆ เช่น การดื่มชาร้อน น้ำเก๊กฮวย น้ำดอกสายน้ำผึ้ง น้ำบ๊วย น้ำถั่ว ที่จะไปช่วยลดความร้อนของหัวใจ ทำให้ตาสว่าง เพิ่มน้ำในร่างกาย บำรุงตับ ไต เจริญอาหาร ช่วยให้ระบบย่อยและดูดซึมอาหารได้ดี การเติมเกลือหรือน้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะช่วยเสริมพลังงานและป้องกันการสูญเสียโซเดียมในร่างกายด้วย
3. ไม่ควรนอนให้ลมหรือความเย็นพัดโกรกใส่ เพราะความร้อนจากแดดจะทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง อุณหภูมิในร่างกายจะลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงและเหงื่อไม่สามารถระบายออกได้ จะเกิดความร้อนสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิงเวียน ไม่สดชื่น หรืออาจเป็นหวัดได้ค่ะ การใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเปิดกระทบร่างกายโดยตรง โดยเฉพาะบริเวณท้อง จะทำให้ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสียได้ ส่วนคนที่มีปัญหาพลังงานพร่องเมื่อโดนลมนานๆ จะเกิดความเย็นโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ทำให้เลือดไหลเวียนน้อยลง
4. การนอน การพักผ่อนโดยธรรมชาติของฤดูซัมเมอร์ กลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืนอยู่แล้ว ทำให้ได้นอนน้อยลง ประกอบกับกลางวันก็เสียเหงื่อและพลังงานไปมาก จึงทำให้ไม่ค่อยสดชื่น ถ้าได้นอนหลับพักผ่อนในช่วงกลางวันจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย แต่สำหรับพนักงานออฟฟิศ การนั่งตัวตรง หลับตาในช่วงกลางวันก็ช่วยได้แล้ว แต่ถ้าใครที่สะดวกจะนอน ควรนอนในท่านอนราบหรือนอนตะแคง ไม่นอนคว่ำ หรือฟุบกับโต๊ะทำงานเพราะจะกดหน้าท้อง กดทรวงอก กระทบการหายใจได้ค่ะ
5. อาหาร หน้าร้อนระบบย่อยอาหารจะทำงานน้อยลง ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกหิว จึงอาจต้องกินให้เหมาะสม เช่น กินข้าวต้มในมื้อเช้า เป็นการถนอมการทำงานของกระเพาะอาหาร อาจผสมถั่วเขียว เม็ดบัว เพื่อให้ย่อยง่ายและช่วยขับความร้อน กลางวันกินผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม แตงไทย สัปปะรดก็แก้กระหายได้ แต่ไม่ควรแช่เย็นจัดค่ะ หลีกเลี่ยงอาหารทอดๆ มันๆ แห้งๆ หรืออาหารที่มีฤทธิ์ร้อน หรือกินแต่น้อยแล้วดื่มน้ำเกลือเพื่อดับร้อน
6. ดูแลสุขภาพเด็กเล็ก ควรให้ใส่ผ้าฝ้ายที่ระบายความร้อนได้ดี ไม่คับ ไม่อึดอัด และระวังเรื่องความอับชื้น อาหารที่กินต้องปรุงสุกและสะอาดเสมอ น้ำแข็ง น้ำอัดลม ไอศกรีมไม่ควรกินบ่อยเพราะไปกระทบเรื่องระบบการย่อยอาหาร ห้องนอนควรจะระบายความร้อนได้ดี และเด็กไม่ควรโดนพัดลมโดยตรง ไม่ควรให้เด็กนอนในที่เปียกชื้น ในกรณีที่เหงื่อออกมากให้พลิกตัวบ่อยๆ การเดินทางโดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมควรให้ลูกสวมหมวก ใส่เสื้อแขนยาว ขายาว เพื่อป้องกันแสงแดดด้วยนะคะ
7. หญิงตั้งครรภ์ ควรสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดเพื่อป้องกันความร้อน หลีกเลี่ยงการกระทบความร้อนโดยตรง อยู่ในห้องที่ระบายอากาศได้ดี เสื้อผ้าก็เช่นกัน ผิวกายต้องสะอาดสะอ้าน กินอาหารที่สดและมีประโยชน์ เช่น เนื้อ นม ไข่ ผลไม้จำพวกแตง มะเขือเทศที่มีฤทธิ์ขับร้อน และเครื่องดื่มจำพวกถั่วเขียวต้ม ชาเก๊กฮวย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแอลกอฮอล์และกาเฟอีน เพราะสามารถส่งผ่านไปถึงทารกได้ง่าย
8. บุคคล 3 ประเภทที่ต้องระวังให้มาก คนสูงอายุ คนที่มีสภาพม้ามบกพร่อง และคนที่มีสภาพไตหยางพร่อง เพราะความร้อนจากแดด หรือการกินอาหารที่เย็นเกินไปจะไปทำให้ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมทำงานผิดปกติ และเกิดความชื้นสะสมในร่างกาย อาจทำให้ท้องเสีย ติดเชื้อง่าย ปวดหัวตัวร้อน แต่ไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ ก็จะมีอาการปวดตามข้อ และกล้ามเนื้อ
ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับด้วยความหวังดี จาก(ทีมงานรับออกแบบติดตั้งระบบน้ำทุกประเภท)

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไฮโดรสตาติก เพรสเชอร์ เทส (HYDROSTATIC PRESSURE TEST) ตอนที่2


การป้องกันอันตรายจากการทำไฮโดรสตาติก เพรสเชอร์ เทส 

การเตรียมพร้อมก่อนเริ่มทำไฮโดร เทส

1. เตรียมเอกสารของอุปกรณ์(ถัง หรือ ท่อ) ที่จะทดสอบแรงดันให้พร้อม เราต้องทราบอย่างชัดเจนว่า อุปกรณ์ที่จะทดสอบถูกออกแบบมาให้รับแรงดันได้เท่าไร และรับอุณหภูมิที่เท่าไร
2. ทราบถึงมาตรฐานในการทดสอบแรงดัน และอุณหภูมิ ว่าจะทำที่ระดับแรงดันและอุณหภูมิเท่าไร (อย่าทำเกินระดับมาตรฐานที่กำหนดไว้)
3. เตรียมเอกสารที่จำเป็นอื่นๆ เช่น แบบ drawing และอื่นๆ
4. แจ้งข่าวสารว่าจะมีการทดสอบแรงดันด้วยน้ำ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ อย่างน้อย 2 วันก่อน ก่อนทำงาน
5. ทำความเข้าใจในแผนงานที่จะทำไฮโดรเทส ให้เข้าใจตรงกัน ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน
6. ตรวจสอบอุปกรณ์และเครื่องมือทั้งหมด ที่ใช้ในการทำไฮโดรเทส เพื่อให้แน่ใจว่ามีสภาพสมบูรณ์
7. เครื่องมือวัดแรงดัน จะต้องมีการปรับเทียบค่า ให้ถูกต้อง (Calibrate)
8. มาตรวัดความดันจะต้องมีความสามารถในการวัดแรงดันได้มากกว่าแรงดันที่จะทดสอบ อย่างน้อยควรมากกว่าแรงดันที่จะทดสอบสัก 50%
9. มาตรวัดความดันน้ำ ต้องเป็นชนิด safety : Full safety pattern solid front blow out back
10.  มาตรวัดแรงดัน ต้องติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถอ่านค่าได้ง่าย ไม่มีอันตรายเพิ่มเติม (ไม่ใช่ไปติดในซอกหลืบ ที่ต้องมุด เข้าไปอ่านค่า)
11. อุปกรณ์ทั้งหมด เช่น วาล์ว หน้าแปลน ฟิตติ้ง และอื่นๆ(valve, fitting, hoses, flanges, blind plate)  จะต้องรับแรงดันได้มากกว่าที่จะทดสอบ
12. แยกระบบอุปกรณ์ และท่อ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำไฮโดร เทส
13. ตรวจสอบจุดระบายอากาศ (vent air) ว่าติดตั้งในตำแหน่งที่สูงพอในการระบายอะไรกาศ และก่อนทำไฮโดรเทส ต้องแน่ใจว่าจุดระบายอากาศใช้งานได้ไม่ได้ถูกบล็อก
14. ติดตั้งวาล์วระบายความดัน (Drain Valve) ในตำแหน่งที่ต่ำที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าในถังหรือท่อว่างเปล่าจริงๆ
15. ติดตั้ง Safety relief valve ตั้งค่าไว้ที่ 1.5 เท่า ของแรงดันสูงสุดที่อนุญาตในการทำงาน
16. Safety relief valve ผ่านการปรับเทียบแล้ว
17. กั้นพื้นที่ที่ทำการทดสอบไฮโดรเทส ติดป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย ให้ทราบว่าเป็นบริการที่มีการทดสอบแรงดัน

18. ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องกับงานไฮโดร เทส เข้าไปในพื้นที่โดยเด็ดขาด
19. ถ้าเป็นไปได้ ให้ตรวจสอบจากระยะที่ไกล
20. แน่ใจว่าที่รองรับถังหรือท่อ(pire support – vessel) แข็งแรงเพียงพอ
21. ท่อสายยางทั้งหมดต้องต่อในแน่น
22. อุณหภูมิน้ำต้องมากกว่า 16 องศาเซเซียส หรือ 60ฟาเรนไฮน?
23. ปั๊มสำหรับไฮโดร เทส มีวาลว์ safety แล้ว
24. ผู้ปฏิบัติงานสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้ครบถ้วน เหมาะสม (หมวก,แว่นตา ,รองเท้า ) หากขึ้นที่สูง ต้องมีเข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัวด้วย
25.  ห้ามเริ่มทำไฮโดรสตาติก เทส หากทุกอย่างยังไม่พร้อมสมบูรณ์
26. ต้องมีใบอนุญาตทำงาน(work permit) และเซ็นอนุมัติโดยผู้มีอำนาจในหน่วยงาน

ระหว่างทำไฮโดร เทส

1.ไลอาศในถัง หรือ ในไลน์ท่อ ออกให้หมดด้วยน้ำ ทางช่อง vent
2. ดำเนินการเพิ่มแรงดัน อย่างช้าๆ
3. ทำเครื่องหมายในบริเวณที่รั่ว และซ่อมแซม ก่อนดำเนินการไฮโดรเทสต่อไป
4. ไม่ตรวจสอบโดยตรงในการทำการทดสอบแรงดันด้วยน้ำ( Hydrostatic Pressure Test) ด้วยการมองเข้าไปในส่วนที่เป็นกระจก

หลังจากเสร็จการทดสอบแรงดัน

1. เริ่มเปิด vent valve ช้าๆ
2. ห้ามเปิด Drain Valve ถ้า Vent valve ยังปิดอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงสูญญากาศในถัง
3. เปิดเดรน วาล์ว ในตำแหน่งที่ต่ำที่สุก เพื่อระบายน้ำออกให้หมด
4. แน่ใจว่าแรงดันทั้งหมดถูกระบายออกจากถัง หรือ ท่อ


วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้จากทีมงานรับติดตั้งระบบน้ำทุกประเภท



ไฮโดรสตาติก เพรสเชอร์ เทส (Hydrostatic Pressure Test) 

                    มีเกร็ดความรู้จากทางทีมงานมาฝากกันครับ รู้หรือไม่ว่าไฮโดร เทส มีประโยชน์หรือมีอันตรายอย่างไรถ้าหากท่านไม่รู้จักวิธีในการทำ ไฮโดร เทส ที่ถูกต้อง
                มักเรียกกันย่อๆว่า ไฮโดร เทส โดยทั่วไปการทดสอบด้วยแรงดันน้ำ จะทดสอบด้วยแรงดันที่สูงกว่าแรงดันภายในท่อหรือถังที่ใช้งานจริง เช่นถ้าท่อหรือถังออกแบบมาเพื่อรับแรงดัน 1 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ก็อาจจะทดสอบแรงดันที่ 1.5 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน และข้อกำหนด คือ การทดสอบสอบท่อ หรือถัง ด้วยแรงดันน้ำ เพื่อให้แน่ใจว่าท่อหรือถังที่นำไปติดตั้งเพื่อใช้งาน มีสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยรั่ว สามารถรับแรงดันที่จะใช้ทำงานได้
                   ไฮโดรสตาติก เทส เป็นอีกงานหนึ่งที่มีอันตรายสูงแรงดันน้ำที่ถูกอัดเข้าไปในถัง หรือ ท่อ สามารถทำให้ถังหรือท่อแตกได้ และหากมีการรั่วไหลของน้ำแรงดันสูงก็สามารถทำอันตรายกับผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้



รับออกแบบติดตั้งระบบน้ำทุกประเภท

รับออกแบบและติดตั้งระบบน้ำทุกประเภท โดยวิศวกรชำนาญการ อาทิเช่น

- รับออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องกรอกน้ำใช้

- รับออกแบบและติดตั้งระบบสปริงเกอร์

- รับออกแบบและติดตั้งระบบน้ำประปา , ถังแรงดั

- รับออกแบบและวางท่อส่งน้ำไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของ อาคาร โรงเรียน บ้าน บ้านจัดสรร โรงงาน และสวน สามารถติดตั้งได้ สนใจติดต่อวิศวกรได้โดยตรง ยินดีให้คำปรึกษาครับ รับงานทุกจังหวัด

***ติดต่อคุณชาตรี 083-7641155 หรือ 087-9310581