วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไฮโดรสตาติก เพรสเชอร์ เทส (HYDROSTATIC PRESSURE TEST) ตอนที่2


การป้องกันอันตรายจากการทำไฮโดรสตาติก เพรสเชอร์ เทส 

การเตรียมพร้อมก่อนเริ่มทำไฮโดร เทส

1. เตรียมเอกสารของอุปกรณ์(ถัง หรือ ท่อ) ที่จะทดสอบแรงดันให้พร้อม เราต้องทราบอย่างชัดเจนว่า อุปกรณ์ที่จะทดสอบถูกออกแบบมาให้รับแรงดันได้เท่าไร และรับอุณหภูมิที่เท่าไร
2. ทราบถึงมาตรฐานในการทดสอบแรงดัน และอุณหภูมิ ว่าจะทำที่ระดับแรงดันและอุณหภูมิเท่าไร (อย่าทำเกินระดับมาตรฐานที่กำหนดไว้)
3. เตรียมเอกสารที่จำเป็นอื่นๆ เช่น แบบ drawing และอื่นๆ
4. แจ้งข่าวสารว่าจะมีการทดสอบแรงดันด้วยน้ำ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ อย่างน้อย 2 วันก่อน ก่อนทำงาน
5. ทำความเข้าใจในแผนงานที่จะทำไฮโดรเทส ให้เข้าใจตรงกัน ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน
6. ตรวจสอบอุปกรณ์และเครื่องมือทั้งหมด ที่ใช้ในการทำไฮโดรเทส เพื่อให้แน่ใจว่ามีสภาพสมบูรณ์
7. เครื่องมือวัดแรงดัน จะต้องมีการปรับเทียบค่า ให้ถูกต้อง (Calibrate)
8. มาตรวัดความดันจะต้องมีความสามารถในการวัดแรงดันได้มากกว่าแรงดันที่จะทดสอบ อย่างน้อยควรมากกว่าแรงดันที่จะทดสอบสัก 50%
9. มาตรวัดความดันน้ำ ต้องเป็นชนิด safety : Full safety pattern solid front blow out back
10.  มาตรวัดแรงดัน ต้องติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถอ่านค่าได้ง่าย ไม่มีอันตรายเพิ่มเติม (ไม่ใช่ไปติดในซอกหลืบ ที่ต้องมุด เข้าไปอ่านค่า)
11. อุปกรณ์ทั้งหมด เช่น วาล์ว หน้าแปลน ฟิตติ้ง และอื่นๆ(valve, fitting, hoses, flanges, blind plate)  จะต้องรับแรงดันได้มากกว่าที่จะทดสอบ
12. แยกระบบอุปกรณ์ และท่อ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำไฮโดร เทส
13. ตรวจสอบจุดระบายอากาศ (vent air) ว่าติดตั้งในตำแหน่งที่สูงพอในการระบายอะไรกาศ และก่อนทำไฮโดรเทส ต้องแน่ใจว่าจุดระบายอากาศใช้งานได้ไม่ได้ถูกบล็อก
14. ติดตั้งวาล์วระบายความดัน (Drain Valve) ในตำแหน่งที่ต่ำที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าในถังหรือท่อว่างเปล่าจริงๆ
15. ติดตั้ง Safety relief valve ตั้งค่าไว้ที่ 1.5 เท่า ของแรงดันสูงสุดที่อนุญาตในการทำงาน
16. Safety relief valve ผ่านการปรับเทียบแล้ว
17. กั้นพื้นที่ที่ทำการทดสอบไฮโดรเทส ติดป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย ให้ทราบว่าเป็นบริการที่มีการทดสอบแรงดัน

18. ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องกับงานไฮโดร เทส เข้าไปในพื้นที่โดยเด็ดขาด
19. ถ้าเป็นไปได้ ให้ตรวจสอบจากระยะที่ไกล
20. แน่ใจว่าที่รองรับถังหรือท่อ(pire support – vessel) แข็งแรงเพียงพอ
21. ท่อสายยางทั้งหมดต้องต่อในแน่น
22. อุณหภูมิน้ำต้องมากกว่า 16 องศาเซเซียส หรือ 60ฟาเรนไฮน?
23. ปั๊มสำหรับไฮโดร เทส มีวาลว์ safety แล้ว
24. ผู้ปฏิบัติงานสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้ครบถ้วน เหมาะสม (หมวก,แว่นตา ,รองเท้า ) หากขึ้นที่สูง ต้องมีเข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัวด้วย
25.  ห้ามเริ่มทำไฮโดรสตาติก เทส หากทุกอย่างยังไม่พร้อมสมบูรณ์
26. ต้องมีใบอนุญาตทำงาน(work permit) และเซ็นอนุมัติโดยผู้มีอำนาจในหน่วยงาน

ระหว่างทำไฮโดร เทส

1.ไลอาศในถัง หรือ ในไลน์ท่อ ออกให้หมดด้วยน้ำ ทางช่อง vent
2. ดำเนินการเพิ่มแรงดัน อย่างช้าๆ
3. ทำเครื่องหมายในบริเวณที่รั่ว และซ่อมแซม ก่อนดำเนินการไฮโดรเทสต่อไป
4. ไม่ตรวจสอบโดยตรงในการทำการทดสอบแรงดันด้วยน้ำ( Hydrostatic Pressure Test) ด้วยการมองเข้าไปในส่วนที่เป็นกระจก

หลังจากเสร็จการทดสอบแรงดัน

1. เริ่มเปิด vent valve ช้าๆ
2. ห้ามเปิด Drain Valve ถ้า Vent valve ยังปิดอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงสูญญากาศในถัง
3. เปิดเดรน วาล์ว ในตำแหน่งที่ต่ำที่สุก เพื่อระบายน้ำออกให้หมด
4. แน่ใจว่าแรงดันทั้งหมดถูกระบายออกจากถัง หรือ ท่อ


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น